เทคโนโลยีการสื่อสารคอมพิวเตอร์ (นักศึกษา BM บรรยาย)

นางสาววรรณนิศา ถนอมวงษ์ "Cellular"ดูบล็อก
นางสาวนราพร วิตูล"3G"ดูบล็อก"
นางสาวรพีพรรณ เนื่องอุตม์"Satellite"ดูบล็อก
นางสาวกนกวรรณ รอดมณี"Bluetooth"ดูบล็อก
นายชาญชัย พรมมิ"Microwave"ดูบล็อก
นายธนา เกตุชาญ"WiFi"ดูบล็อก
นายธเนศ ขวัญเขียว"Wimax"ดูบล็อก
นางสาวนัท ยิ้มคง"CDMA"ดูบล็อก
นางสาวดารินทร์ ลินใจ"GSM"ดูบล็อก

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ( Geographic Information System : GIS) กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางทั้งจากภาครัฐ ประชาชนนักอนุรักษ์ นักวิชาการองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและผู้สนใจทั่วไปข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อมจึงเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายมีความต้องการเป็นอย่างมาก ข้อมูลภาพดาวเทียมและข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์จัดเป็นข้อมูลพื้นฐานที่แสดงข้อเท็จจริงของสภาพพื้นที่อย่างชัดเจน สามารถนำมาใช้ในการศึกษาและสำรวจทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้ทั้งในระดับประเทศระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น ประโยชน์ของภาพดาวเทียมจะยิ่งเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นในพื้นที่ที่ห่างไกลหรือยากแก่การเข้าถึง เช่น เกาะ ภูเขาสูง หรือพื้นที่ที่ห่างไกลเส้นทางคมนาคม ในต่างประเทศภาพดาวเทียมมีบทบาทอย่างสูงในงานด้านต่างๆ อย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการติดตามสภาพสิ่งแวดล้อมการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของทรัพยากร การวางแผนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นหรือการท่องเที่ยว เป็นต้น อย่างไรก็ตามสำหรับประเทศไทย การนำภาพดาวเทียมและข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปใช้ประโยชน์นับว่าน้อยมาก โดยจำกัดอยู่เฉพาะนักวิชาการในหน่วยงานของรัฐบางหน่วยงานและสถาบันการศึกษาเพียงไม่กี่แห่งเนื่องจากสังคมไทยโดยส่วนรวมยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของภาพดาวเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ตลอดจนการนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ ประกอบกับในอดีตที่ผ่านมาการศึกษาหรือดำเนินนโยบายต่างๆ ด้านการวางแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ มักจะพิจารณาเป็นส่วนๆหรือเฉพาะกลุ่มเป้าหมายเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้มีการมองในภาพรวมของปัญหาทั้งหมดโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ที่เปรียบเสมือนเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนเอง ทำให้การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรบางครั้งขาดความร่วมมือจากคนในท้องถิ่น ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและการยอมรับในท้องถิ่นตามมา จึงเป็นปัญหาต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในอดีตที่ผ่านมา ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีภารกิจในการจัดทำฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมและการนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในด้านการวางแผน การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างเครือข่ายของประชาชนในท้องถิ่นเพื่อเฝ้าระวังทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของตนเองตลอดจนการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่ามากที่สุด ึงได้ริเริ่มจัดทำโครงการฯขึ้นเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการใช้เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวางแผนจัดการและบริหารทรัพยากรในท้องถิ่น และที่สำคัญคือ เพื่อให้เกิดเครือข่ายการใช้ข้อมูลในการเฝ้าระวังทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในอันที่จะเป็นการประสานการดำเนินการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศต่อไป ซึ่งมีอย่างโครงการต่างๆดังนี้ โครงการเครือข่ายเฝ้าระวังทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์คัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวมของเทศบาล จังหวัดสระบุรี การใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อการจัดการและวางแผนการชลประทาน การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการกำหนดพื้นที่รับน้ำและจ่ายน้ำของระบบน้ำบาดาลในเขตจังหวัดขอนแก่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น